วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาหารพื้นเมืองจังหวัเชียงราย

อาหารพื้นเมืองจังหวัเชียงราย

แกงฮังเล

 

                                                         http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/images/lanna_food/p01038s.jpg

     แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเลมีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสนเชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีตจากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น
เป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู 

แหล่งข้อมูล https://sites.google.com/site/maungchiangrai/sthan-thi-thxng-theiyw/sthan-thi-thxng-theiyw/xahar-laea-thiphak

 

แกงโฮ๊ะ

 

                    ที่มา https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=&url=http%3A%2F

      แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะ นั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้

แหล่งข้อมูล https://sites.google.com/site/maungchiangrai/sthan-thi-thxng-theiyw/sthan-thi-thxng-theiyw/xahar-laea-thiphak

 

ข้าวสอย 

                                                ที่มาhttp://www.google.com/url?sa=i&source=imgres&cd=&cad=rja&uact=8&

     คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส  

แหล่งข้อมูล https://sites.google.com/site/maungchiangrai/sthan-thi-thxng-theiyw/sthan-thi-thxng-theiyw/xahar-laea-thiphak

 

ขนมจีนน้ำเงี้ยว


     ขนมจีนน้ำเงี้ยว ป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน, เลือดหมู, เนื้อหมู, มะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น

แหล่งข้อมูล https://sites.google.com/site/maungchiangrai/sthan-thi-thxng-theiyw/sthan-thi-thxng-theiyw/xahar-laea-thiphak

 

น้ำพริกหนุ่ม 

      พริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ

 แหล่งข้อมูล http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=26


ไส้อั่ว

 

      คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้

แหล่งที่มา http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=25 

 

แคบหมู 

      แคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม 

แหล่งที่มา http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=24 

 

แกงหัวปลีใส่ซี่โครงหมู

      อาหารเหนือที่หากินได้ไม่ยาก แต่อยากให้ได้ชมกัน คนที่คลอดลูกใหม่ๆ หากได้ทานแกงนี้สามารถช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ให้แก่ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลhttp://www.baanmaha.com/community/threads

 

แอ็บอ่องออ


     แอ็บอ่องออ หรือแอ็บสมองหมู คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำสมองหมูสด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บหมู แอ็บปลา แอ็บกุ้ง ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก

แหล่งข้อมูล http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=36 

 

 น้ำพริกตาแดง

 

  แหล่งที่มา http://www.pstip.com/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น