วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย

แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย

ไร่บุญรอด

          ไร่บุญรอด ปลูกพืชหลายชนิดตามความเหมาะสมกับสภาพดิน ทั้งไม้ผล อาทิ พุทรา มะเฟือง สตอเบอรี่ มะเขือเทศ ลิ้นจี่ ลำไย มีชาพันธุ์อู่หลง และการทำฟาร์มปศุสัตว์ เลี้ยงวัวนม เป็นต้นรวมทั้งแปลงเกษตรผสมผสานและพื้นที่จัดสวนดอกไม้นานาพรรณ ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพ 

 


      นอกจากนี้ยังสามารถชมทัศนียภาพอันงดงามในบรรยากาศแห่งขุนเขาเมืองเหนือ ชมพระอาทิตย์ยามเย็นก่อนลับขอบฟ้า และรับประทานอาหารอร่อยได้ที่ร้านอาหารภูภิรมย์ บนจุดชมวิว 360 องศา อีกด้วยมีร้านกาแฟเบอเกรี่ ซึ่งตั้งอยู่ทางเข้าไร่ และ ร้านค้าขายผลิตภัณฑ์ที่มาจากไร่ ไม่ว่าจะเป็น ชา ไวน์ มะเฟือง และมะเขือเทศซึ่งคอนเฟริมว่ามะเขือเทศที่ ไร่บุญรอด รสชาติ หวานอร่อนกรอบมาก 

แหล่งข้อมูล http://travel.kapook.com/view72100.htm


ภูชี้ฟ้า


  
  


              ภูชี้ฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตรโดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว เป็นยอดเขาสูงที่สุด ในเทือกเขาดอยผาหม่นด้านที่ติดสาธารณรัฐประช ธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชันเป็นจุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยที่สุด โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมี ทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ เดิมพื้นที่บริเวณภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น เป็นพื้นที่สีแดงที่มีความขัดแย้งรุนแรงจน ผู้คนจากภายนอก ไม่สามารถเดินเข้ามาในแถบนี้ได้ กระทั่งเมืาอความขัดแย้งหมดสิ้นลงไป ความสงบก็คืนสู่ขุนเขาอีกครั้ง  เมื่อเริ่ม มีผู้คนเดินทางมาชมธรรมชาติแล้วชื่อเสียงของภูชี้ฟ้าก็ขจรขจายไปอย่างรวด เร็วนื่องจากเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่ไม่มีใครนั่นคือ ลักษณะภูเขา ที่ชี้ไปบนฟ้า หากมาเยือนภูชี้ฟ้าในช่วงปีใหม่ยังจะได้ชมงานปีใหม่ที่ชาวม้งจะแต่งตัวม้ง ครบถ้วนทั้งหญิงและชาย จุดเด่นของงานคือ การโยนลูกช่วงหรือลูกหินระหว่างหนุ่ม - สาว ไฮไลต์สำคัญของการมาเที่ยวภูชี้ฟ้านอกจากการได้สัมผัส อากาศหนาวสบายและ ความสวยงามของทะเลหมอกแล้ว หากนักท่องเที่ยวเดินทางมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม จะเป็นช่วงเวลาที่ดอกเสี้ยวหรือชงโคป่าจะผลิดอกสีขาวบานสะพรั่งเต็มเชิงเขา                  

                                                                                                     
แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north                                                                                                                                                                                                                                             

                                     

    ดอยตุง

        พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนิน การก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มี พระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียว กันสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ.2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุงพร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ ปลูกป่าบนดอยสูงจึงกำเนิดเป็น โครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่าลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียว กันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้
ดอยตุง
   
      สำหรับผู้ที่มาเที่ยวพระตำหนักดอยตุง จะมีจุดที่น่าสนใจให้เยี่ยมชม 3 จุด ดังนี้ คือ
   1. หอพระราชประวัติ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าสุดของพระตำหนัก
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ แปดห้อง ดังนี้
ห้องแรก แผ่นดินไทยฟ้ามืด กล่าวถึงการเสด็จถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2539
   ห้องที่ 2 ฉันจะเดินทางด้วยเรือลำนี้ แสดงถึงปรัชญาในการดำเนินพระชนม์ชีพ ที่ประกอบด้วยหลักเหตุผล และการสร้างสรรค์ทางศิลปะ
   ห้องที่ 3 ภูมิธรรม ประมวลความสนพระทัยในหลักธรรมคำสั่งสอน
   ห้องที่ 4 หนึ่งศตวรรษ เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปีแห่งการพระราชสมภพ เมื่อปีี  พ.ศ.2443 ทั้งนี้ ทรงพระปรีชาชาญ ในการอภิบาลพระธิดา และพระโอรสที่ต่อมาได้เถลิงถวัลย ราชสมบัิติ เป็น พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ รวมทั้งทรงนำความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในงานบำบัดทุกข์บำรุงสุข ของพสกนิกร จนองค์การยูเนสโก ได้ประกาศพระนามในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก
   ห้องที่ 5 เวลาเป็นของมีค่า กล่าวถึงงานฝีมือต่างๆ ของพระองค์ที่ใช้พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ
   ห้องที่ 6 พระมารดาแห่งการแพทย์ชนบทและการสาธารณสุขไทย
   ห้องที่ 7 พระผู้อภิบาล บรรยายถึงความเป็นพระผู้อภิบาลธรรมชาติ
   ห้องที่ 8 ดอยตุงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงโครงการพัฒนาดอยตุงที่เป็นโครงการพัฒนาระยะยาว เน้นการ อนุรักษ์ธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.สวนแม่ฟ้าหลวง
เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ในหุบเขา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 เดิมมีพื้นที่ 12 ไร่ มีการปลูกดอกไม้หมุนเวียนสลับ ให้ออกดอกไม่ซ้ำกันตลอดสามฤดู ล้อมรอบประติมากรรมชื่อ "ความต่อเนื่อง" เป็นรูปเด็กยืนต่อตัวที่กลางสวน นอกจากนี้ ยังจัดแต่งสวนหินซึ่งประดับด้วยหินภูเขากลมเกลี้ยงขนาดใหญ่ สวนน้ำอุดมด้วยไม้น้ำพันธุ์ต่างๆ บัว และสวนปาล์มที่รวบ รวมปาล์มไว้มากมายในพื้นที่ 13 ไร่ สวนแม่ฟ้าหลวงจึงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 25 ไร่
ดอยตุง ดอยตุง




ดอยตุง ดอยตุง


3. อาคารพระตำหนักดอยตุง
พระตำหนักแห่งนี้ ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์โดยเน้นที่ความ เรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จย่าพระตำหนักยังได้ รับการอนุรักษไว้เป็น อย่างดีและ์เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชม สถาปัตยกรรมของพระตำหนักเป็นการผสมผสา ระหว่างสถาปัตย กรรมแบบล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิส สร้างบนไหล่เนิน มองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลสุดสายตา พระตำหนักมี สองชั้น และชั้นลอยชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน แต่เชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียว ที่โดดเด่นสะดุดตา คือ กาแลและ ไม้แกะสลัก เป็นเชิงชาย ลาย เมฆไหล ที่อ่อนช้อยโดยรอบ ภายในตำหนักล้วนใช้ไม้สน และไม้ลังที่ใส่สินค้า เป็นเนื้อไม้สีอ่อนที่สวยงามจุดน่าสน ใจอีกจุดคือ เพดานดาว ภายในท้องพระโรง แกะสลักขึ้นจากไม้สนภูเขาเป็น กลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะ ชมได้อย่างไม่รู้เบื่อ ส่วนบริเวณผนังเชิงบันได แกะสลักเป็นพยัญชนะไทย พร้อมภาพประกอบ สำหรับการเข้าชมข้างในพระตำหนักดอยตุง จะเปิดให้เข้าชมเป็น 
ดอยตุง ดอยตุง
ดอยตุง ดอยตุง


4. พระธาตุดอยตุง พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำปีกุน
พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอ แม่ฟ้า หลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุองค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับ น้ำทะเล ประมาณ 2000 เมตร  ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนก นาคนคร เมื่อปี พ.ศ.1452 พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวายซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่าที่ดอยดินแดงแห่ง นี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูปบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้าพระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจก มาเฝ้าพระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้าง พระสถูปขึ้น โดยนำธง ตะขาบยาว 3000 วา ไปปักไว้บนดอยมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐาน พระสถูปเพียงนั้นดอย ดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จก็ได้นำ พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวนองค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระ สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฎอยู่จน ถึงทุกวันนี้ ชาวเชียงรายมีประเพณีการเดิน ขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
สิ่งที่น่าสนใจ :
พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 ม. บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุง บูชาพระธาตุ เมื่อ 1,000 ปีก่อน
ดอยตุง ดอยตุง
ดอยตุง ดอยตุง
แหล่งข้อมูลฟหhttp://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doitung.html                                       

ดอยแม่สลอง  

      ดอยแม่สลอง ตั้งอยู่ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวจีนฮ่อ แห่งกองพล 93 ที่ตั้งหลักแหล่งบนดอย แห่งนี้มานาน ปัจจุบันชุมชนชาวจีนบนดอยแม่สลอง มีชื่อว่า หมู่บ้านสันติคีรี ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย 1,200 ม. มีทัศนียภาพที่สวยงามและอากาศเย็นสบายตลอดปี รายได้หลักมาจากการปลูกชาอู่หลง บ้านสันติคีรี เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากร ประมาณ 800 หลังคาเรือน มีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ และธนาคารทหารไทย ที่ให้บริการ อย่างสมบูรณ์แบบ 
ดอยแม่สลอง

ประวัติดอยแม่สลอง
      เป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง ของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบ อยู่ทางตอนใต้ของจีน ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจสำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋งจึงถอยร่น ไปปักหลักที่เกาะไต้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลัง พลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนัก จนถอยร่นเข้ามาใน เขตพม่า แต่ถูกฝ่ายพม่าผลักดัน เกิดการปะทะ กันหลายครั้งจนต้องถอยร่นมาจนถึงเทือกดอยตุงชายแดนไทย ฝ่ายพม่าได้ร้องเรียนไป ยังสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2496 และมีมติให้อพยพ กองกำลังพลัดถิ่นไปยังประเทศไต้หวัน แต่ทหารสังกัดนายพลหลี่เหวินฝาน และนายพลต้วนซีเหวินราว 3 หมื่นคน ทำเรื่องขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคต เพราะไต้หวัน เป็นเพียงเกาะเล็กๆ รัฐบาลไทยอนุญาติโดยจัดสรรให้ทหารของนายพลหลี่เหวินฝาน ไปอยู่ที่ถ้ำง้อบ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ส่วนทหารสังกัดนายพลต้วน ซีเหวิน15,000 คน อยู่บนดอยแม่สลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เพื่อใช้เป็น กันชนกับชนกลุ่มน้อยทำให้ ดอยแม่สลอง ในยุคแรกเป็น ดินแดนลี้ลับต้องห้าม มีปัญหายาเสพติด และกองกำลัง ติดอาวุธมาตลอด ทางการไทยได้พยายามแก้ปัญหาโอน กองกำลังเหล่านี้มา อยู่ในความดูแลของ กองบัญชา การทหารสูงสุด กระทั่งปี พ.ศ.2515 ครม.มีมติรับทหารจีนคณะชาติให้อาศัยในแผ่นดินไทย อย่างเป็นทางการ ยุติการค้าฝิ่น ปลดอาวุธ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรม โดยพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มโครงการ ปลูกชา และปลูกสนสามใบ เพื่อทดแทนป่า ชุมชนบนดอยแม่สลองได้ชื่อใหม่ เป็นบ้านสันติคีรี มีการออกบัตรประชาชนให้เมื่อปี พ.ศ.2521 ดอยแม่สลองคืนสู่ความสงบ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนับแต่นั้นมา


จุดชมวิวระหว่างทาง







ดอยแม่สลอง



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนดอยแม่สลอง

1.พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี
ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดที่ระดับความสูง 1,500 ม. เหนือหมู่บ้านสันติคีรี ห่างจากหมู่บ้าน 4 กม.มีถนนลาดยางตัดขึ้นไป ยังพระบรมธาตุฯ แต่ถนนสูงชัน คดเคี้ยวมาก พระบรมธาตุฯ สร้างแล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ.2539 เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐาน สี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 ม. ฐานกว้าง ด้านละประมาณ 15 ม. ประดับกระเบื้องสีเทา มีซุ้มจระนำด้านละสามซุ้ม เรือนธาตุประดับพระพุทธรูป ยืนสี่ทิศ องค์ระฆังประดับแผ่นทองแกะสลักลวดลาย ใกล้กับองค์เจดีย์เป็นวิหารแบบล้านนาประยุกต์ ที่ตั้งของพระบรม ธาตุฯ เป็นจุดสูงสุดของเทือก เขาดอยแม่สลองจึงชมทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะในยามเย็น ขณะเดียวกัน องค์พระธาตุยังเด่นเป็นสง่า มองเห็นแต่ไกลเป็นสัญลักษณ์อีกอย่าง ของดอยแม่สลอง
ดอยแม่สลอง

ดอยแม่สลอง


2. สุสานนายพลต้วน
      อยู่บนเนินเหนือหมู่บ้าน แยกขึ้นไปทางด้านข้างคุ้มนายพลรีสอร์ต ประมาณ 1 กม. สร้างเมื่อปี พ.ศ.2523 แท่นหินอ่อน บรรจุร่างนายพลต้วนซีเหวิน อยู่ภายในศาลาเก๋งจีนขนาดใหญ่ สีขาว พื้นปูหินอ่อน ด้านหลังแท่น บรรจุศพ มีภาพถ่าย เก่าแก่เกี่ยวกับประวัติและผลงาน ด้านหน้าเป็นลาดเนิน มีตัวอักษร "ต้วน" ภาษาจีน สีทองบน พื้นสีฟ้า สุสานนายพล ต้วนอยู่บนเนินที่ระดับความสูงประมาณ 1,300 ม. สามารถมองเห็นบ้านสันติคีรีใน หุบต่ำลง ไปเบื้องล่าง เป็นจุดชม ทิวทัศน์ของหมู่บ้านที่ดีจุดหนึ่ง ด้านหน้ามีร้านชาสองร้าน ซึ่งจะเชิญชวนให้ผู้มา เยือนได้ ทดลองชิมชา
ดอยแม่สลอง
4.ชิมชาอู่หลงชมไร่ชา
     ชาเป็นพืชเศรษฐกิจของบ้านสันติคีรี ในพื้นที่ปลูกหลายพันไร่ มีต้นชามากกว่า 2 ล้านต้น ที่นี่จึงมีไร่ชา โรงอบชาและ ร้าน จำหน่ายชาหลายสิบร้าน เรียงรายบนถนนสายหลัก ที่ผ่านกลางหมู่บ้าน ชาที่มีชื่อเสียงคือ ชาอู่หลง ซึ่งมีกลิ่นหอม พิเศษ ต้องมีวิธีการดื่มเฉพาะแบบชาวไต้หวัน ร้านจำหน่ายชา ทุกร้าน เช่นไร่ชา 101 วังพุดตาล ร้านชานายพลต้วนจะ เชิญชวนให้ผู้มาเยือนได้ทดลองชิมชา พูดคุยสอบถามถึงวิธีการชงชา เลือกซื้อหาชา อุปกรณ์ชงชาแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถไปชมไร่ชา การเก็บชา โดยไม่เสียค่าบริการได้อีกด้วย
ดอยแม่สลอง



5. ไร่ชา101
      เป็นไร่ชาที่คว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดสุดยอดชาโลกบนดอยแม่สลอง บริเวณทางเข้าจะเห็นความสวยงาม ของของต้นชาเรียงรายเป็นขั้นบันได สลับกับเบื้องหลังเป็นทิวเขา จึงทำให้ภาพต่างนั้นงดงามราวกับอยู่ในห้วง แห่งความฝัน ไร่ชา 101 โทร. 053-710029, 053-710030 เวลาทำการ 7.00 – 17.00 ทุกวัน

ดอยแม่สลอง
6.ไร่ชาวังพุฒตาล
      ซึ่งจะมีสิงโตเงิน สิงโตทอง ที่อยู่ด้านหน้าประตูทางเข้า ซึ่งมีขนาดกว้าง 14x16 เมตรนอกจากนั้นยังมีกาน้ำชา ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีก 3 ใบตั้ง เรียงราย ราวกับประกาศความยิ่งใหญ่ความสุดยอดของแหล่งผลิตชา ในแต่ละ วันจะมี นักท่องเที่ยวเดินทางนิยมมาถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก ไร่ชาวังพุดตาล โทร. 0 5376 5094
ดอยแม่สลอง
7.ชมดอกซากุระ
      เส้นทางเข้าสู่หมู่บ้านสันติคีรี ทั้งด้านกิ่วสะไต และบ้านอีก้อสามแยก จะปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งเรียงรายสอง ข้างทาง เป็นระยะทางกว่า 4 กม. ต้นนางพญาเสือโคร่งจะทิ้งใบจนหมด และผลิดอกสีชมพูพราวไป ทั้งต้นใน หน้าหนาวดูราวกับ ดอกซากุระของญี่ปุ่น สวยงามมาก ต้นนางพญาเสือโคร่งเหล่านี้ เป็นไม้พื้นถิ่นบนดอยทาง ภาคเหนือ เป็นไม้โตเร็ว นางพญาเสือโคร่งบนดอยแม่สลองนำมาปลูกไว้ในช่วงปี พ.ศ.2525 ช่วงเวลาที่เหมาะสม ระหว่างเดือน ธ.ค. - ก.พ.
ดอยแม่สลอง ดอยแม่สลอง

 แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doimaeslong.html

                             

วัดร่องขุ่น

       ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่ง มั่น รังสรรค์ งานศิลปะ ที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับ กระจก และจิตรกรรรมฝาผนัง ขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็น เชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับ ด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
 “ผมหวังที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผม ให้ปรากฏเป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลกมนุษย์นี้ให้ได้ พื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติทั้งโลก”

      คือคำกล่าวของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง ผู้ออกแบบและก่อสร้างวัดร่องขุ่น อันมีชื่อเสียงโด่งดัง  อ. เฉลิมชัย มีแรงบันดาล ใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ซึ่ง อาจารย์บอกว่าผมจึงตั้งความปรารถนาที่จะ ถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์เพื่อ เป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด

วัดร่องขุ่น


 อ. เฉลิมชัยกล่าวว่า
ผมตั้งความหวังที่จะมอบชีวิตในวัยที่มีค่าที่ดีพร้อมที่สุดของอาชีพจิตรกร ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ฝีมือจินตนาการ ให้แก่โลกไปจวบจน ลมหายใจสุดท้ายของชีวิตผมเริ่มงานก่อนตามตั้งใจไว้ถึง 3 ปี โดยการเริ่มสร้างวัดร่องขุ่น วัดบ้านเกิดของผมเมื่ออายุเพียง 42 ปี ด้วยเงินที่ผมเก็บสะสมไว้กว่า 20 ปี จากการจำหน่ายผลงานศิลปะของผม หวังว่าที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผม ให้ปรากฏเป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลก มนุษย์ให้ได้เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติ ทั้งโลก ผม เริ่มสร้างอุโบสถ ก่อนเมื่อปี 2540 บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ ผ่านมาบัดนี้ ปี 2547 เข้าปีที่ 7 ที่ผมอุทิศ ตน ผมขยายวัดเป็น 12 ไร่ จากการซื้อที่ดินเพิ่ม และคุณวันชัย วิชญาชาคร ร่วมบริจาคณ เวลานี้อุโบสถเสร็จไปประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์คาด ว่า ภายนอกจะเสร็จอีก 5-6 ปีข้างหน้า ส่วนภายในซึ่งเป็นงานตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังจะใช้เวลาอีก 8 ปี จึงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ภายในบริเวณวัดจะประกอบไปด้วยอาคารที่มีลักษณะรูปทรงที่ แตกต่างกันทั้งหมด 9 หลัง เพื่อสร้างให้เป็นเมืองสวรรค์ อันยิ่งใหญ่ อลังการ ผมคงไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อตกแต่งลวดลายเสร็จหมดทั้ง 9 หลัง เพราะศิลปะยืนยาวแต่ชีวิตสั้น เพียงผมคาดว่า โครงการ ของสถาปัตยกรรมทั้งหมดคงจะเสร็จภายใน 3 ปี หาก เมื่อผมตาย คณะลูกศิษย์ที่ผมสอนไว้จะสานต่อจินตนาการของผมจน แล้วเสร็จ ทั้งหมดผมได้เตรียมการบริหาร จัดการหลังความตายไว้พร้อมแล้ว่านที่มาเยี่ยมชมวัดแล้วอย่ากังวลใจ กลัวว่าผมจะสร้าง ไม่เสร็จเพราะสาเหตุ ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากและยังจำกัดจำนวนเงินของผู้บริจาคไม่ให้เกิน10000 บาทเงินไม่ใช่ปัญหา ใหญ่สำหรับ ผมมาวันนี้ผมจ่ายไปแล้ว กว่า 30ล้านบาท ผมมั่นใจในตนเอง มั่นใจต่อจิตอันเป็นผู้ให้ของผม ขอทุกท่านอย่าได้ เป็นห่วงผม ไม่ปรารถนาขอเงินใครไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลองค์กรเอกชนหรือเศรษฐีผู้ร่ำรวยเพระ ผมไม่อยาก อยู่ใต้ อำนาจ ทางความคิดของใคร ไม่ต้องการให้ใครมีอำนาจเหนือจินตนาการของผมผมต้องการอิสรภาพทางความคิด สร้างสรรค์ผมเชื่อว่า เงินจำนวนมาย่อม มาพร้อมอำนาจจองผู้บริจาค ผมสร้างงานพุทธศิลป์ด้วยความศรัทธาจริต ไม่ได้มุ่งหวังสิ่งใดๆ ตอบแทน ไม่ต้องการและไม่ชอบ การทำบุญ เอาหน้าวัดนี้ไม่เคยเรี่ยไรเงินด้วยกฐินผ้าป่า วัดนี้ไม่รีบร้อนสร้างเพื่อฉลองในโอกาสใดๆ ทั้งสิ้น ผมคิดเพียงอย่าง เดียวต้องดีที่สุดสวยที่สุดสร้างจนหมด ภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรมของผม ผมสร้างวัดโดยไม่เคยเรี่ยไรเงิน จากใครผมต้องการ ปัจจัยที่มาจากแรง ศรัทธาอันบริสุทธิ์ใจของชาวพุทธ ที่ปรารถนาจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนา และงานพุทธศิลปของชาติเท่านั้น ผมไม่ การต้องปัจจัยจากผู้ที่หวังผลประโยชน์จากการบริจาค"(คัดลอกจากเอกสารวัดร่อง ขุน โดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์) 

วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น


อุโบสถวัดร่องขุ่น ที่ อ. เฉลิมชัย ได้สรรค์สร้างขึ้นมาล้วนแต่มีความหมายยิ่ง
โบสถ์ เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้าน ของพระพุทธเจ้า
สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล
สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ
ครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าใน พุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้น ไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา อสูรกลืนกัน16 ตน บนสันของสะพาน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึง กึ่งกลางสะพาน หมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา สระน้ำด้านล่าง หมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา ครึ่งวงกลมก่อนขึ้นบันได หมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วย ดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู4บานบานสุดท้ายเป็นกระจกสาม เหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความ หลุดพ้น แล้วจึงก้าว ข้ามธร ีประตูเข้าสู่พุทธภูมิภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดง ถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง
 
แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/rongkhun.html

                                                                           

บ้านดำ 

บ้านดำ หรือ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ตั้งอยู่ที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย สร้างขึ้นโดย อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ที่มีฝีมือทางด้าน จิตรกรรม ปฏิมากรรม ได้สร้างงานด้านศิลปะไว้มากมาย ทั้งทางด้านภาพเขียนและด้านปฏิมากรรมหลายชิ้น ลักษณะ ของ บ้านดำจะ เป็นกลุ่มบ้าน ศิลปะแบบล้านนา ทุกหลังทาด้วยสีดำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “บ้านดำ” และยังเป็นสีที่ อ. ถวัลย์โปรดปราน อีกด้วย ในบ้านแต่ละหลังจะประดับด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม นอกจากไม้แกะสลักแล้วยังประดับด้วยเขาสัตว์ เช่น เขาควาย เขากวาง และยังมีกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกช้าง เป็นต้น ถึงแม้อ.ถวัลย์ จะถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว แต่บ้านดำ ก็ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามา สัมผัสความงดงามของที่แตกต่างไม่เหมือนใครของที่นี่ 
บ้านดำ  เชียงราย
   
ภายในบริเวณบ้านเต็มไปด้วยต้นไม้ บรรยากาศร่มเย็นสบาย โดยในบริเวณบ้านประกอบไปด้วยบ้านทั้งหมด 36 หลัง ที่มีลักษณะ แตกต่างกันไป ซึ่งบ้านเหล่านี้ไม่ได้สร้างไว้สำหรับอยู่อาศัยแต่สร้างไว้สำหรับเก็บสิ่ง ของสะสมต่าง ๆ ของอาจารย์ถวัลย์ นอกจากนั้น ยังมีอีกหนึ่งหลังที่ยังสร้างไม่เสร็จ คือพิพิธภัณฑ์ที่ใช้แสดงผลงานของอ.ถวัลย์ สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง มีลวดลายแกะสลักที่ สวยงามอย่างยิ่งนับว่าเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์และศิลปะแบบ ล้านนาที่ทรงคุณค่าและ ควรอนุรักษ์ ในจังหวัด เชียงรายจะมีวัดร่องขุ่นของอาจารย์เฉลิมชัย ซึ่งมีสีขาวเหมือนสวงสวรรค์ ทำให้มีผู้เปรียบเทียบบ้านดำของอาจารย์ อาจารย์ถวัลย์ จะเป็นแนวออกทางนรก ซึ่งอาจารย์ติบว่า “ นั่นคือเป็นข้อเปรียบเทียบ คือ อ.เฉลิมชัยทำวัดร่องขุ่นจะค่อนข้างเหมือนกับสรวงสวรรค์ อาจารย์ถวัลย์จะเน้นโทนดำๆ ถ้าจะเปรียบก็เฉลิมสวรรค์ ถวัลย์นรก เป็นแค่การเปรียบเทียบแต่ไม่ใช่ออกในแนวนรกConcept ที่นี่ไม่ใช่นรกแต่เป็นบ้านดำ ที่นี่เค้าเรียกบ้านดำนางแล ลักษณะจะเป็นสีดำ คนก็เลยเปรียบเปรยกันอย่างนี้เฉยๆ ”

 


แหล่งที่มา http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangrai/bandum.html


งานเชียงรายดอกไม้บาน


งานเชียงรายดอกไม้บาน
      งานดอกไม้ในจังหวัดเชียงรายจัดทุกปี โดยปกติจะจัดอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ งานบริเวณสวนไม้งามริมกกและงานบริเวณสวนตุง ซึ่งส่จัดในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่เป็นของคนละหน่วยงาน  นักท่องเที่ยวสามารถเลือกชมงานได้ไม้ได้ตามสะดวกหรืออาจเข้าชมทั้งสองงาน โดยทั้งสองงานเข้างานฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

งาน “ นครเชียงราย นครแห่งดอกไม้งาม ”
      โดย เทศบาลนครเชียงราย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย ขอเชิญนักท่องเที่ยวไปสัมผัสกับ ความงดงามของดอกไม้นานาพันธุ์ ในงาน"นครเชียงราย...นครแห่งดอกไม้งาม ณ บริเวณสวนตุงและโคมเชียงราย เฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเทศบาลนครเชียงรายได้เนรมิตบริเวณสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนธนาลัย ด้วยการ จัดสวนไม้และดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น ดอกทิวลิป ดอกลิลลี่ พิทูเนีย บลูฮาวาย ฯลฯ จำนวนกว่า 1 ล้านต้น มากกว่า 30 สายพันธุ์ มาตกแต่ง เป็นอุทยานดอกไม้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความสวยงาม อีกทั้งยังจัดเป็นอุโมงค์ไม้ดอกมงคล บ้านดอกไม้ พร้อมกับประดับตกแต่งเมืองใน เขตเทศบาลด้วยดอกไม้ให้สวยงามทั้งเมือง จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางไปสัมผัสกับ ความงามของดอกไม้ ในงาน "นครเชียงราย นครแห่งดอกไม้งาม" โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5370 0051-2 ได้ทุกวันในเวลาราชการ


งาน "มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย"
ณ บริเวณสวนไม้งามริมน้ำกก อ.เมือง จ.เชียงราย ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย โดยองค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงราย  จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ชาวเชียงราย เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จังหวัดเชียงราย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีล้านนาและการเป็นแหล่ง ผลิตไม้ ดอกไม้ประดับ ที่มีคุณภาพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพต่าง ๆ นำผลผลิตและผลิตภัณฑ์ OTOP มาจำหน่ายสร้างรายได้และแลกเปลี่ยนสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมทั้งเป็น จุดเชื่อมโยงในการรองรับเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน

โดยกิจกรรมสำคัญภายในงานประกอบด้วย
  • การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุ) จากประเทศภูฎาน มาประดิษฐานในบริเวณงาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศได้เคารพสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ ชีวิต
  • สวนไม้ดอกเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
  • ขบวนบุปผชาติทางน้ำที่สวยงาม
  • อุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์
  • การประกวดมิสอาเซียน
  • กาดมั่วครัวล้านนา
  • หมู่บ้านหิมะ

แหล่งที่มา http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangrai/flowerfestival.html

   

สามเหลี่ยมทองคำ 

     สามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขง ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวก ซึ่งกั้นดินแดนระหว่าง ประเทศไทยและประเทศพม่า จากจุดนี้ นักท่องเที่ยวจะมองเห็นฝั่งพม่าและลาวได้ถนัดชัดเจน สามเหลี่ยมทองคำ เป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะครั้งหนึ่ง เคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก เรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นที่ว่านี้อีกแล้ว คงเหลือแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบ ของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้นแต่ผู้คนก็ยังคงพากัน เดินทางมาสัมผัสกับตำนาน สามเหลี่ยมทองคำ โดยมีที่มาของชื่อ ว่าหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และลาวถูกฝรั่งเศสยึดครอง ก็เกิดการค้าขายสินค้าด้วยระบบและเปลี่ยนกันขึ้นโดย ทางฝั่งพม่านั้นจะมีผ้าแพร สินค้าจากจีน กระทะทองเหลือ และฝิ่นเป็นสินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนกับผ้าไหม ทองคำแผ่น และทองคำแท่งของ พ่อค้าฝั่งลาว ซึ่งพ่อค้าลาวจำเป็น ต้องล่องเรือตามลำน้ำโขงมาขึ้นที่บ้านป่าสัก เขตเมืองพงของ พม่าซึ่งตั้งอยู่เหนือบ้านสบรวกของไทย ปีหนึ่ง ๆ มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันประมาณ 4-5 ครั้ง ทำให้บ้านป่าสักกลาย เป็นบริเวณขายที่เฟื่องฟูมากของสมัยนั้น และเพราะการ และเปลี่ยนด้วยทองคำนี้เองจึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานบริเวณนี้ กันจนติดปากว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"

1. ล่องเรือชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำโขง
      นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ 300-400 บาท นั่งได้ 6 คน ที่สามเหลี่ยมทองคำจะมีท่าเรือไว้บริการหลายท่า ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไป ไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกลนักท่องเที่ยว ที่สนใจ ล่องแม่น้ำโขง ไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่นสิบสองปันนาคุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวใน จังหวัดเชียงรายได้หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของ สามเหลี่ยมทองคำ บริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้น ไป บนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง
2. นมัสการพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน
      พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน หรือ พระพุทธนวล้านตื้อ ประดิษฐานกลางแจ้ง ณ สามเหลี่ยมทองคำ พระพุทธนวล้านตื้นองค์นี้เป็น พระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง และสร้างขึ้น ด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน "เรือแก้วกุศล ธรรม" ขนาดใหญ่ 
3. ถ่ายรูปคู่กับซุ้มประตูสามเหลี่ยมทองคำ
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำมักไม่พลาดที่จะถ่ายรูปกับ ซุ้มประตู สามเหลี่ยมทองคำ ที่มีวิวแม่น้ำโขง เป็นฉากหลัง
4. ช้อปปิ้งซื้อของที่ระลึก

แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/goldentriangle.html 

ทุ่งดอกบัวตองดอยหัวแม่คำ

     ทุ่งดอกบัวตองดอยหัวแม่คำตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง ห่างจากบ้านเทอดไทย 35 กม.เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่า อาข่าและลาหู่ ตั้งอยู่บนสันเขา ตะเข็บชายแดนไทย-พม่า มีทิวทัศน์สวยงาม พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ ในเขตวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เมื่อลมหนาวมา เยือนทุ่งดอกไม้สีทองเหลืองอร่าม ทุ่งดอกบัวตองก็เร่ิมบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งขุนเขาเหนือดอยสูง  ดอยหัวแม่คำ ซึ่ง จะบานไล่เลี่ยกับที่ดอยแม่อูคอแม่ฮ่องสอนในเดือนพฤศจิกายนอาจจะล่าช้ากว่า บ้าง ดอกบัวตองนี้มี มากมาย ขึ้นสลับกันระหว่าง บ้านชาวเขา มีอาณาเขตบริเวณกว้างความสวยงามยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อมาชมยามพระอาทิตย์ขึ้น จาก ขอบฟ้า ส่องแดดสีอ่อน ผ่านไอหมอกอบอวลในหุบเขายังมีกลุ่มทะเลหมอคลอเคลียและยังสามารถขับรถตามสัน เขาเพื่อชม ดอกบัวตองได้โดยสะดวกที่มี ดอกบัวตองบานสะพรั่งไปทั้งดอยสลับแซมกับหมู่บ้านชาวเขา ที่อาศัยอยู่กับดอกบัวตองอย่างกลม กลืนดูสวยงามจนได้รับยกย่อง ให้เป็น 1 ใน Unseen Thailand


ทุ่งดอกบัวตองดอยหัวแม่คำ

ดอกบัวตองบานเพียงปีละครั้ง โดยจะเริ่มบานในช่วง ต้นเดือน พ.ย. เป็นต้นไป และจะเริ่มบานเต็มที่สวยงามใน ช่วงกลางเดือน พ.ย. ในนี้จะมีการจัดงานเทศกาลดอยบัวตองบาน ณ ดอยหัวแม่คำ ซึ่งจะคึกคักเป็นพิเศษ ซึ่งชาวเขาจะแต่งชุดประจำเผ่าที่สวยงาม รวมทั้งมีการแสดงของ เผ่าต่างๆ ด้วย หากพ้นช่วงเทศกาลไปแล้วจะค่อนข้างเงียบเล็กน้อยประมาณปลายเดือนพ.ย. ดอกบัวตองก็จะเริ่มโรยรา

 แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doihuamaekam.html

 

ดอยผาตั้ง

     ดอยผาตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านผา ตั้ง หมู่ที่ 14 ต.ปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย  สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,635 เมตร ห่างจาก ภูชี้ฟ้าประมาณ 30 ก.ม. เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่ง ของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ดอยผาตั้งเช่นเดียวกับที่ดอยแม่สลอง 
ดอยผาตั้ง
     ลักษณะเป็นสันเขาคดเคี้ยว มองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามจับตา ความสวยงามที่เป็น ลักษณะเฉพาะ ของดอยผาตั้งไม่ว่าจะเป็นจุดชมทะเลหมอกที่งดงามและอลังการในยามเช้า ชมพระอาทิตย์อัศดงยามเย็น มองเห็นดวงตะวันกลมโตสีส้ม ฉูดฉาดค่อยๆ ลับทิวเมฆกลืนลงไปตามแนวสันเขายิ่งงดงาม ประทับใจ ในช่วงทุกวันที่ 31 ธ.ค. – ต้นม.ค.ของทุกปี จะมีเทศกาล ชมทะเลหมอกดอกซากุระบาน
      1. จุดชมวิวผาบ่องประตูสยาม
เป็นหน้าผาหอนขนาดใหญ่ตรงกลางเป็นเนินช่องเขาเหมือนประจู เป็นช่องทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
      2.ศาลาเก๋งจีน- พระพุทธมังคลานุภาพลาภสุขสันติ -ป่าหินยูนนาน
ถัดจากช่องผาบ่องขึ้นไปอีกราว 15 เมตร จะเป็นเนินที่ประดิษฐานพระพุทธมังคลานุภาพลาภสุข สันติและ ศาลา ทรงเก๋งจีน อนุสรณ์สถาน ของนายพลหลี่ ผู้นำ ทจช. ในอดีตจากเนินตรงนี้เดินลงไปอีก 30 เมตร ก็จะพบทางขึ้นไปชมป่าหินยูนนาน ซึ่งเป็นหินรูปทรงลักษณะ คล้ายภูเขาในประเทศจีนที่มีรูปทรงสูงๆ หลายแหลมขึ้นสลับ ซับซ้อนสวยงามมาก
      3.จุดชมวิวช่องผาขาด
เป็นขุดชมวิวที่อยู่ใกล่วิวผาบ่องประตูสยาม ลักษณะเป็นผาหิน ที่ขาดแยกจากกันเป็นช่องมองลงไปเห็น ทิวทัศน์ ประเทศลาวและ สายแม่น้ำโขงได้ชัดเจน
      4.จุดชมทะเลหมอกเนิน 102
จากจุดผาขาดเดินขึ้นดอยต่อไปยัง เนิน 102 ระยะทางกว่า 300 เมตร เป็นเนินเขาลูกหนึ่งบนดอยผาตั้ง เป็นจุดชมทะเลหมอกและ พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด สามารถมอง เห็นทะเลหมอกได้กว้างไกลสุดตา ละลอก คลื่นอยู่ไกลๆ
      5.จุดชมทะเลหมอกเนิน 103
เป็นเนินเขาอีกลูกบนดอยผาตั้ง อยู่ห่างจากเนิน 102 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 500 เมตร ลักษณะบนเนิน 103 มีหินขนาดใหญ่ อยู่บนเนินเป็นจุดชมวิวที่สวยงามจะเป็น จุดชมทะเลหมอก ที่กล่าวได้ว่าสวยงามที่สุด กว่าทุก ยอดบนดอยผาตั้งเพราะจะชมทะเลหมอก ได้กว้างไกลแบบพาโนรามา
ที่ดอยผาตั้งบนเส้นทางขึ้นไปจุดชมวิว มีบริการขี่ม้าชมวิว คิดค่าบริการ 150-300 บาท แล้วแต่ระยะทาง

แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doiphatang.html


  ดอยช้าง 

     ดอยช้าง ตั้งอยู่บ้านดอยช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นยอดดอยสูงในเทือก ดอยวาวี เป็นแหล่งต้นน้ำแม่กรณ์ มีชาวเขาเผ่าต่างๆ มาอาศัยอยู่ จัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูง เพื่อส่งเสริม การปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว ลดการทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นศูนย์บริการวิชาการด้าน พืชและปัจจัยการผลิต   
ดอยช้าง เชียงราย

ชื่อ "บ้านดอยช้าง" ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทาง ทิศเหนือ (ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ดอยช้างมีชื่อเสียงในเรื่องของเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย มาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้ชมสวนกาแฟที่สุกอร่ามเต็มดอย พร้อมๆกับชมดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งที่กำลังบาน สีสันสดใส ชมพู อีกทั้งเพลินตา กับศิลปะวิถีชาวบ้าน
ดอยช้าง เชียงราย ดอยช้าง เชียงราย
ดอยช้าง เชียงราย ดอยช้าง เชียงราย
      1.ชมแปลงปลูกดอกไม้และผลไม้เมืองหนาว ดอกนางพญาเสือโคร่งบาน
เป็นแปลงปลูกผลไม้เมืองหนาว เช่า เกาลัด มะคาเดเมียนัต บ๊วย ท้อ พลับ พลัม กาแฟ ให้ผลผลิตในฤดูหนาว แต่ไม่มีจำหน่าย มีเจ้าหน้าที่พาชมแปลงปลูกพืชรอบพื้นที่ บริเวณดอยช้างมีอากาศดี และเย็นสบายเหมาะ สำหรับ การพักผ่อน ในช่วงเดือนธ.ค. – ต้นม.ค. ดอกพญาเสือโคร่งจะบานเป็นสีมชมพูทั่วภูเขางดงามยิ่งนัก
ดอยช้าง เชียงราย ดอยช้าง เชียงราย
    
2.ชิมกาแฟอาราบิกา
เนื่องจากพื้นที่ดอยช้างอยู่ที่ระดับความสูงเกิน 1,000 เมตร เหมาะสำหรับปลูกกาแฟอาราบิกา จึงได้ผลผลิตดี ทางศูนย์ติดตั้งเครื่องคั่วบดกาแฟ เพื่อแปรรูปวัตถุดิบ มีกาแฟที่คั่วบดแล้วให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิม
ดอยช้าง เชียงราย ดอยช้าง เชียงราย

ดอยช้าง เชียงราย
ดอยช้าง เชียงราย
   
      3. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
บริเวณดอยช้างแห่งนี้ มีอีกหนึ่งสถานที่ที่สำคัญ และเหล่าชาวพุทธศาสนิกชนไม่ควรข้ามผ่านไปอย่างเด็ดขาด นั่นคือ บริเวณพุทธอุทยานดอยช้าง ซึ่งมีหลวงพ่ออำนาจ สีลคุโณ ได้มาปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี 2532 เป็นผู้ดูแลรักษาพุทธอุทยาน ดอยช้าง ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติของป่าไม้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์มาก มีบึงน้ำ ขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าสระมรกตอยู่กลางพุทธอุทยาน สีเขียวของน้ำบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ บริเวณ รอบๆ รายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ตลอดเส้นทางที่เดินไปก็จะมีเสียงกบ เสียงจิ้งหรีดร้องทักทาย อยู่ตลอด เวลา ทางเดินเล็กๆ จากบ่อน้ำจะนำพาเราไปสู่ลานพุทธสถานที่มีพระพุทธรูปปางต่างๆไว้ให้ประชาชน ได้กราบไหว้ สักการบูชา
      4. จุดชมวิวดอยช้าง
บริเวณโดยรอบของจุดชมวิวจะถุกประดับประดาไปด้วยพรรณไม้เมืองหนาวมากมาย หลากหลายสี ถ้ามาในช่วง ฤดูหนาว ที่จุดชมวิวแห่งนี้จะมีอากาศหนาวเย็นตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 5 โมงเย็นไปเลยทีเดียว เนินเล็กๆ ของจุด ชมวิว เป็นที่ให้นักท่องเที่ยวได้นักพักผ่อน และเฝ้ารอการกลับบ้านของพระอาทิตย์ ซึ่งแสงสุดท้ายที่สาดส่อง ขึ้น ไปทั่วฟ้าสวยงามเหลือจะบรรยาย แต่เราไม่มีโอกาสได้นั่งดูนานนัก เพราะถ้าพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ไม่นานที่นี่ ก็จะมืดสนิท ไม่สะดวกในการเดินทางเท่าไรนัก

แหล่งที่มา http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangraidoichang.html


ดอยวาวี 

     ดอยวาวี ตั้งอยู่ หมู่ 1 ต.วาวี อ.แม่สรวย เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ของชาวจีนฮ่อ บนดอยวาวี ยังมีความเป็น เอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชวนให้หลงใหล หลงรส นั่นก็คือ เสน่ห์แห่ง "ชา" ที่ชาวบ้านบนดอยวาวี ปลูกกันเป็น อาชีพหลัก อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะที่นี่มีชาวจีนฮ่อ หรือจีนยูนนานมาอาศัยอยู่ ยุคเดียวกับกองพล 93 ที่ ดอยแม่สลอง (ที่ขึ้นชื่อเรื่องชาเช่นกัน) ส่งผลให้บนดอยวาวีนิยมปลูกชากันมาก ชาบนดอยวาวี มีทั้งชาพันธุ์พื้น เมืองสายพันธุ์ "อัสสัม" ชาสายพันธุ์ไต้หวันอย่างชิงชิง เบอร์ 12, 13 และชา "อู่หลง" ที่มีความโดดเด่น เป็นอย่าง ยิ่ง เพราะดอยวาวี ถือเป็นแหล่งปลูกชาอู่หลงแห่งแรกของเมืองไทย ลุงพังโก : พินิจ พิทักษ์วารี ชายอายุ 60 กว่าๆ ผู้ที่ติดใจในรสชาติชาอู่หลง จนถึงขนาดแอบลักลอบนำต้นชาอู่หลงพันธุ์ดี เข้ามาปลูกในเมืองไทย เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว และลองผิดลองถูกอยู่ 8 ปี จนปัจจุบันได้พัฒนาเป็นชาอู่หลงแบบไทยๆ ที่รสชาติยอดเยี่ยม ไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่าอู่หลงของไต้หวัน แถมยังส่งไปตีตลาดที่ไต้หวันอีกด้วย
ดอยวาวี
บนดอยวาวียังไม่หมดของดีเพียงเท่านี้ เพราะการที่ดอยแห่งนี้ มีชนเผ่าอาศัยอยู่ถึง 13 ชนเผ่า อาทิ อาข่า (มีอยู่เยอะที่สุด) มูเซอ ลีซอ เย้า กะเหรี่ยง จีนฮ่อ และเผ่าอื่นๆ ก็ทำให้ดอยแห่งนี้ มีวัฒนธรรมและประเพณี การแต่งกาย บ้านเรือน และภาษา ของแต่ละชนเผ่า ที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป แต่ว่าทุกคนบนดอยวาวี ต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติที่โอบล้อม
ดอยวาวี ดอยวาวี
     1.ชมไร่ชาและชิมชา
นอกจากจะมีชาให้ชิมให้ช้อป (หาซื้อหาชิมได้ตามร้านขายชาทั่วไป) แล้ว ดอยวาวียังมีชาให้ชมด้วย ซึ่งนอกจาก ไร่ชา ที่ชาวบ้านปลูกเรียงราย ลดหลั่นไปตามไหล่เขาแล้ว ดอยวาวียังมีต้น "ชาพันปี" ที่บ้านใหม่พัฒนา เป็นหนึ่ง ในจุดสนใจทางการท่องเที่ยว ชาพันปีต้นนี้ วัดเส้นรอบวงบริเวณโคนต้นได้ 150 เซนติเมตร สูงถึง 20 เมตร เป็นชา สายพันธุ์อัสสัม ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ บนดอยวาวีมาช้านานแล้ว ชาวบ้านนิยมนำใบมาทำ "เมี่ยง" กินให้ความ กระชุ่มกระชวย
      2. ดอยเลาลี
การเดินทาง ใช้ถนน รพช. ไปบ้านใหม่หมอกจ๋าม ผ่านบ้านวาวีไปอีก 4 กม. เป็นทางลูกรัง ผ่านไร่ชาบนภูเขา เลารีรีสอร์ตอยู่ขวามือ เป็นดอยเล็กๆ ระดับความสูงประมาณ 1,300 ม. จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ตั้งของ เลาลีรีสอร์ต ที่พักเพียงแห่งเดียวในละแวกดอยวาวี เลาลีเป็นชื่อของอดีตทหารสังกัดกองพล 93 ที่มาหักร้าง ถางพงบนที่ดินในหุบเขา และยอดดอยเตี้ยๆ ห่างจากบ้านวาวีประมาณ 4 กม. เพื่อทำไร่ชา บริเวณนี้มีไร่ชาปลูก ลดหลั่น ตามลาดเขา มีทิวทัศน์สวยงามมาก

 แหล่งข้อมูล http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doiwavee.html

   

ไร่ชาฉุยฟง

     ไร่ชาฉุยฟง ตั้งอยู่ในเขต พื้นที่บ้านพญาไพร ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวงและอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกชา ชั้นดี ของ บริษัท ฉุยฟงที จำกัด ซึ่งป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดใน จังหวัดเชียงราย โดยมีประสบการณ์ยาวนาน ในการเพาะปลูก ชามากว่า 40 ปี ปัจจุบัน บริษัท ฉุยฟง  เป็นผู้ผลิตชาผู้จัดจำหน่ายและผู้ส่งออก มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ใช้ทาง ด้านอุตสาหกรรม เช่น โออิชิ มาลี ยูนีฟ ลิปตัน เป็นต้น สวนชาตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า1,000 ไร่ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแถบเทือกเขาสูง ซึ่งอยู่บนพื้นที่ี่สูงกว่า ระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร มีความสวยงามของไร่ชาที่กว้างใหญ่ กว่าพันไร่ โดยจะปลูกโค้งวน ตามสันเขาและลดหลั่นเป็น ขั้นบันได ซึ่งดูสวยงามแปลกตากว่าไร่ชาที่อื่น ทำให้ ไร่ชาฉุยฟง กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจใน ภายในไร่ชานอกจากจะ ได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามของไร่ชาแล้ว ยังมีร้านอาหารเมนูยอดนิยม เช่น ยำทูน่า สปาเก็ตตี้ยูนาน หมั่นโถวใบชานุ่มอร่อยสุดๆๆ เว็บไซต์ http://www.chouifongtea.com เฟสบุค https://www.facebook.com/ChouiFongTea

ไร่ชาฉุยฟง
 

 อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช 

                                      ที่มา https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%

     อนุสาวรีย์ พ่อขุนเม็งรายมหาราช  ตั้งอยู่ที่ถนนห้าแยกพ่อขุนเม็งราย ถนนเชียงราย-แม่จัน (ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตามประวัตินั้น พ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวะ เป็นโอรสของพญาลาวเม็งและพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พุทธศักราช 1782 และเสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1854 รวมพระชนมายุได้ 72 พรรษา สถูป (กู่) บรรจุพระอัฐิหรือ กู่พญามังรายมหาราช ตั้งอยู่ที่วัดงำเมือง
 การสร้างบ้านแปลงเมืองของท่าน พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อปี พ.ศ. 1805 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์มังรายและรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจน เจริญรุ่งเรืองจวบจนปัจจุบัน
อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย มีลักษณะเป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่ง  ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์แบบล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมมาลัยพระกรและสวมพระธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย และตรงนิ้วชี้ที่พระหัตถ์ข้างซ้าย และทรงฉลองพระบาท ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติสีทองอร่ามขนาดใหญ่ประดับอยู่ทางด้านหลัง อนุสาวรีย์ด้วย สำหรับฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า "พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ.1782 - 1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย"
อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย แห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงรายและคนล้านนาเป็นอย่างมาก มีผู้คนมาสักการะทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่ขาดสาย หากใครได้ไปเที่ยวที่จังหวัดเชียงราย ก็ควรเดินทางไปสักการะพ่อขุนเม็งรายเป็นที่แรก เหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ไปถึงจังหวัดเชียงรายแล้วจริงๆ

แหล่งข้อมูลhttp://thai.tourismthailand.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น